Serum

Sulwhasoo : Snowise EX Whitening Serum

มาถึงตาเจ้า Sulwhasoo กันบ้างเนาะ มีคำพังเพยเค้าว่าไว้ “หากสิ่งที่นักปีนเขาทุกคนต้องพิชิตคือเอเวอเรสแล้ว สิ่งที่นักวิเคราะห์สารแบบหมูต้องพิชิตก็คือ Sulwhasoo” (ล้อเล่นนะ 555+) ที่หมูเปรียบแบบนี้เพราะว่ามันเป็น Skincare ที่อัดหนักเรื่องสมุนไพรมากๆ และส่วนใหญ่ก็คือสมุนไพรจีนนั้นแหล่ะ ส่วนผสมที่เขียนมาข้างกล่องดูแล้วแปลกๆ หน่อย เพราะเรียงสารมาแล้วกลับมีบางอย่างใส่มามากกว่าน้ำซะอีก ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ก็ละไว้ในฐานที่ไม่เข้าใจแล้วกัน ทั้งนี้หมูเองจะบอกว่าการเขียนรีวิวครั้งนี้ถือเป็นการได้เปิดโลกของ Active ฝั่งสมุนไพรจีนของหมูได้มากมายเหลือเกินครับ เหนื่อยเลยทีเดียวเชียว

เข้าเรื่องเลยดีกว่า คือว่าในส่วนของไลน์ SNOWISE นี้ เท่าที่หมูอ่านสารผ่านๆ ก็พบว่าเค้าได้ใส่สาร Active ที่ทำงานเป็น Whitening มามากมายเพื่อไปสกัดกั้นการทำงานในแต่ละขั้นตอนของการผลิตเม็ดสี (Melanogenesis) ของเราครับ นอกจากนี้ก็ยังได้เน้นตัวชูโรงไปที่คำว่า White ก็คือสารสกัดจากโสมขาว White Ginseng Saponins (Ginsenoside) เพื่อเป็นการเน้นย้ำนะว่าทุกอย่างต้อง White จริงๆ นะครัช

ปล.โสมมี Ginsenoside อยู่เยอะมากๆ 50 กว่าชนิดได้เลยครับ ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีตัวอักษรย่อตามหลังเช่น a1, a2, b1, b2, b3, c, d, e, f, g1, g2, h1, หรือ h2 ซึ่งหมูก็ไปเจองานวิจัยมาว่าโสมขาวนั้นมีสารพวกนี้มากกว่าโสมแดงทั่วไปถึง 2-3 เท่าเลยทีเดียว ใครที่สนใจในรายละเอียดเชิงลึกก็สามารถเข้าไปอ่านกันได้ตามนี้นะครับ [Source : http://www.ginst15.net/red_vs_white_extract_comparison.pdf]

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก Pubmed ที่หมูหาเจอมานั้น ก็มีการกล่าวถึง White Ginseng เช่นกันครับ โดยเค้าได้บอกว่าในโสมนั้นมีสารดีๆมากมายเหลือเกิน ไม่เพียงแต่ Saponin ที่เป็นสารหลักๆ (ที่คนมักจะพูดถึง) แต่มันยังมี  essential oils, antioxidants, polyacetylenic alcohols, peptides, amino acids, polysaccharides, และ vitamins อีกด้วย

นอกจากนี้สารสกัดที่เค้าให้ความสนใจกันมากในโสมจะเป็น Polysaccharides 2 ตัวก็คือ Ginsenan S-IA และ Ginsenan S-IIA ซึ่งเจ้าตัวหลังนี้มันจะไปเพิ่มกระบวนการ Phagocytosis (กำจัดของเสียออกจากร่างกาย) ได้ด้วยนะครับ แปลง่ายๆก็คือคุณสมบัติในการต่อต้านเซลล์เนื้องอกและเซลล์มะเร็งนั้นเอง

ส่วนถ้าจะมามองในเรื่องความสามารถในการเป็น Whitening ของสารสกัดจากโสมแล้ว ก็มี Research อยู่ใน Pubmed ว่ามันสามารถเข้าไปขัดขวางกระบวนการสร้างเม็ดสีได้จริง ทั้งในหลอดทดลอง (In Vitro) และในคนจริงๆ (In Vivo) นะยูว์

ตอบโจทย์ความสงสัยของตัวหมูเองในเรื่องของความสามารถในการเป็น Whitening ของโสมแล้วล่ะครับ ความรู้ใหม่ 🙂

Source :

 

สรุปภาพรวม

คือหมูก็รู้นะครับว่า Sulwhasoo เค้าใส่สมุนไพรมาหลายตัว แต่ก็เข้าใจมาตลอดว่าคงชูโรงแต่ตัวโสมเป็นหลักๆ ไม่น่าจะมีอะไรเยอะมากเป็นพิเศษ แต่พอมาอ่านข้อมูลเอาเข้าจริงๆ ก็ Stun ไปซักพัก (ยืนมองขวด แล้วนึกในใจ… งานงอกแล้วไง เขียนอะไรง่ายๆ ไม่เขียน หาเรื่องอีกแล้ว 555+) เพราะทาง Sulwhasoo เค้าได้ใช้ Active ที่มาจากสมุนไพรจีนหลายตัวมากๆ เลยทีเดียว และที่สำคัญคือเจ้าสารหลากหลายเหล่านี้มันยังเข้ามาช่วยกันเพิ่มคุณสมบัติการเป็น Whitening อย่างสุดกู่จริงๆ เรียกได้ว่าสกัดทุกการเคลื่อนไหวของการผลิตเม็ดสีเลยทีเดียวเชียวล่ะ เจ้าตัวนี้ราคา (6,500บาท/50ml)

เพื่อความกระชับเข้าใจง่าย หมูจะขอสรุปสารประกอบไว้เป็นกลุ่มๆ (ในส่วนนี้พืชสมุนไพรบางอย่างมีสรรพคุณรอบด้าน หมูจะขอ Group ตามคุณสมบัติหลักๆ จากข้อมูลเท่าที่หมูจะหาได้นะครับ ออกตัวก่อนว่าสารมันเยอะมากๆ อาจจะหาข้อมูลมาไม่ได้ละเอียดมากนักนะครับ)

มาเริ่มกันเลย จะขอแบ่งสรรพคุณเป็น 5 หมวดคร่าวๆ นะครับ รายละเอียดจริงๆ ลงไปอ่านกันในข้างล่างสุดได้เลยครับ

1. สาร Whitening (ก่อนจะอ่าน Part ต้องไปทำความเข้าในกลไลการทำงานของการสร้างเม็ดสีแบบย่อๆ ก่อนตามนี้ครับ LINK)

  • สารสกัดทั่วไป
    • Vitamin B3 + Acetyl Glucosamine : 2 ตัวนี้คือสารที่เครื่องสำอางค์ทั่วๆ ไป ก็ใส่กันทั้งนั้นครับ มีงานวิจัยรองรับชัดเจน เพียงแต่ว่าต้องใส่ให้ถึง % เพื่อที่จะได้ผลตามที่งานวิจัยว่าไว้ (ลำพังเจ้า Vitamin B3 เดี่ยวๆ มันก็ไปขัดขวางการส่งถุงเมลานินอยู่แล้วด้วยนะครับ)
  • สารสกัดจากพืชสมุนไพร
    • โสม : ยับยั้ง Tyrosinase และ ยับยั้ง α-MSH
    • สารสกัดรากชะเอมเทศจีน / สารสกัดปอสา : ยับยั้ง Tyrosinase
    • แบะตง : ทำหน้าที่ Block การขนส่งถุงเม็ดสี melanin
    • รากโบตั๋นจีน : ช่วยเรื่อง Hyper Pigment Disorder
    • สารสกัดจากเมล็ดดอกบัว : ยับยั้งการ Oxidation ไม่ให้ผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง อันนี้หมูเข้าใจว่าจะเป็นเรื่องของการต่อต้านของเสียที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างน้ำตาลและโปรตีนในร่างกาย หรือที่เรียกทางภาษาวิชาการว่า Advanced glycation end products (AGEs) ครับ
    • angular Solomon’s seal : ช่วยลด Age Spot
    • หญ้าลิ้นงูดอกขาว : ต่อต้านเซลล์มะเร็ง รวมถึงยับยั้ง α-MSH

2. สารที่ช่วยในเรื่องของการสมานแผล

  • สารสกัดจากโสม
  • รากตี้หวง : และยังช่วยลดอาการแพ้ระคายเคืองได้ด้วย

3. เป็น Antioxidant

  • รากชะเอมเทศยุโรป

4. ลดการระคายเคือง

  • สารสกัดจากใบแปะก๊วย
  • สารสกัดจากรากหมวกไบคาล

5. เสริม Skin Barrier

  • Meadowfoam Seed Oil

 

 

มึนอะดิ ใส่อะไรมาบ้างก็ไม่รู้ มีแต่ชื่อแปลกๆ เนาะ หมูก็มองว่าทาง Sulwhasoo เค้าบรรจงคัดสรรสารสกัดจากพืชสมุนไพรมามากมายเลยทีเดียวครับ ทำให้เรานึกถึงตอนเดินผ่านร้านขายสมุนไพรจีนแถวเยาวราชที่มีขวดโหลเยอะๆ มีตู้ไม้สูงๆ มีช่องเล็กๆ เต็มไปหมด แค่เดินผ่านหน้าร้านก็ได้กลิ่นสมุนไพรโชยออกมาแล้ว นี้แหล่ะ Chinese Apothecary ขนานแท้ (ส่วนสาย Skincare ของฝรั่งเห็นจะมีแต่ Kiehl’s ที่ Positioning ตัวเองเป็น Apothecary มั๊งครับ)

ในส่วนของการใช้งานนั้น สัมผัสแรกที่ได้ใช้คือมันก็ฟินดีครับ เนื้อสัมผัสเหลว ลื่น เกลี่ยง่าย มีกลิ่นที่ไม่เหมือน Sulwhasoo ทั่วๆไปที่เหมือนมีปืนใหญ่อัดกลิ่นโสมเตรียมพร้อมจะยิงใส่จมูกของเราทุกเมื่อ ปั๊มเดียวรู้เรื่อง! เหมือนยืนอยู่ในโรงหมักโสมทันที แต่เจ้าตัวนี้กลับมีกลิ่นที่แตกต่างออกไปครับ มันเหมือนน้ำหอมจากสุคนธกรที่มีแรงบันดาลใจในการปรุงกลิ่นมาจากการใช้เครื่องเทศจากเขตร้อน สรุปคือบอกไปก็ไม่เข้าใจหรอก 555+ ไปลองกันเองดูแล้วกันครับ

Serum ตัวนี้หมูลองใช้มาได้อาทิตย์กว่าเกือบจะสองอาทิตย์แล้วล่ะ ก็ไม่ได้แพ้แต่อย่างใด แต่บอกไว้ก่อนเลยว่าหลังจากทาแล้วจะมีเลือดฝาดขึ้นเล็กๆ นะครับ บางคนอาจจะขึ้นเยอะกว่านั้นเดาว่าเป็นเพราะสาร Active ที่ใช้นั้นไปกระตุ้นเรื่องการไหลเวียนของโลหิตก็เป็นได้

เจ้าตัวนี้สามารถใช้ได้เช้าเย็นนะครับ ผิวก็ดูกระจ่างขึ้นเล็กๆน้อยๆ (จะเอาอะไรกับคนที่ใช้ Whitening เป็นประจำอยู่แล้วล่ะ) แต่บอกก่อนว่ามันก็จะไม่ได้ช่วยเรื่องความชุ่มชื้นเท่าไหร่นะครับ เพราะเค้าเอาพื้นที่ไปใส่สาร Active ที่จะช่วยเรื่องการบำรุงซะหมดก่อน แกเห็นมั๊ยล่ะ Block ทุกสิ่งอย่างตั้งแต่  α-MSH, Tyrosinase ยันไปถึงการขัดขวางการส่งถุงเมลานินไปผิวชั้นบนเลยทีเดียว สรุปคือหมูมองว่าหากจะใช้ Serum ตัวนี้ แม้แต่คนผิวมันก็อาจจะต้องหาครีมบำรุงมาทาทับเพิ่มนะครับ ยิ่งถ้านอนห้องแอร์ยิ่งต้องลงครีมเพิ่มเลยล่ะ ไม่เช่นนั้นหน้าเราจะแห้ง พอยิ่งแห้งก็ยิ่งผลิต Sebum ออกมาอีกครับ วนเวียนไปอีก ดูแลผิวให้ถูกวิธีกันด้วยนะครัช

โดยรวมแล้วถามว่าชอบมั๊ย ก็ชอบนะ เป็น Feel สมุนไพรดีครับ ได้ความแปลกใหม่ดี สารสกัดอัดแน่นไม่เกรงใจสวนสมุนไพรจะหายไปจากเกาะเกาหลีอะไรประมาณนั้นเลย

สรุปข้อดี/ข้อเสีย

ข้อดี

  1. สาร Whitening ทำงานหลากหลายมากๆ ที่จะไปสกัดกระบวนการผลิตเม็ดสีตามจุดต่างๆ
  2. มีสารที่ช่วยในเรื่องของ Age Spot ที่ Brand อื่นเค้าไม่ค่อยจะใส่มารวมกันกับ Whitening (ต้องขอแยกขายไม่งั้นเดี๊ยวไม่มีลูกเล่นมาขาย 555+ แซวแรง)
  3. มีสารบำรุงอื่นๆอีกมากมาย และเกือบทุกตัวมีผลการวิจัยรองรับ ทั้งในเรื่องของการช่วยให้ผิวขาว เป็น Antioxidant ช่วยให้ผิวสมานได้เร็วขึ้น ช่วยลดการระคายเคือง เยอะมากๆ
  4. บรรจุภัณฑ์ทึบแสง

ข้อเสีย

  1. มีน้ำหอม

ขอบคุณที่ติดตามกันครับ อย่าลืมไปตามต่อกันในเพจนะคับ : livelymoo ครับ:)


รีวิวละเอียด ขี้เกียจข้ามเลยครับ

เนื้อสัมผัส

Sulwhasoo Snowise EX Whitening Serum 1

เนื้อ Serum มีความเบาบาง เป็นสีขาวขุ่น

Sulwhasoo Snowise EX Whitening Serum 2

เกลี่ยได้ง่ายมากๆ เนื่องจากมีความเบาบางสุดๆ กลิ่นสมุนไพรก็จะออกมาชัดขึ้น

Sulwhasoo Snowise EX Whitening Serum 3

เกลี่ยรอบที่สองก็โอเคครับ ซึม (หรือแห้งก็ไม่รู้) หายไปหมด ไม่ได้รู้สึกชุ่มชื้นอะไรใดๆ ครับ (ก็นะเค้าไม่ได้ใส่สารเรื่องความชุ่มชื้นมามากมายเท่าไหร่)

 

รายละเอียดส่วนผสม

  1. Glycyrrhiza Uralensis (Licorice) Root Extract
    • 500g-dried-font-b-Glycyrrhiza-b-font-font-b-uralensis-b-font-Fisch-herb-tea-Licorice.jpg

      credit : aliexpress.com

    • รากของชะเอมเทศจีน ใช้เป็นสาร Whitening มายาวนานแล้วครับทำหน้าที่ในการยับยั้ง Tyrosinase สาเหตุต้นๆ ของการผลิตเม็ดสี [Source : http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16142649]
    • รากของชะเอมเทศเป็นตัวที่ขึ้นชื่อในเรื่องการการต้านการระคายเคืองรวมถึงช่วยให้ผิวขาวขึ้น ที่ผ่านมาเราจะได้ยินว่า Hydroquinone คือ Gold Standard ในเรื่องของการรักษาฝ้าแต่ก็ยังมีประเด็นในเรื่องของความปลอดภัย ดังนั้นจึงมีการศึกษาสารสกัดอื่นๆ จากพืชที่สามารถช่วยรักษาฝ้า และอาการ Hyperpigmentation จากรอยสิวและแผลต่างๆ หนึ่งในนั้นที่ช่วยรักษาอาการเหล่านี้คือชะเอมเทศนั้นเองครับ [Source : http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18045355]
  2. Ophiopogon Japonicus Root Extract
    • radix-ophiopogonis_opt.jpg

      Credit : traditionalerb.com

    • มันคือ “แบะหมึ่งตง” หรือ “แบะตง” หรือ “mondo grass” เราจะเห็นบ่อยๆ ในร้านขายยาจีนครับ เจ้าตัวนี้ก็ทำหน้าที่เป็น Whitening โดยจะไป Block การเคลื่อนย้ายของ melanosome (ถุงเม็ดสี) จาก melanocyte (เซลล์ที่ผลิตเม็ดสีใต้ชั้นผิว) [Source : http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12213087]
  3. Broussonetia Kazinoki Root Extract
    • คือ “Paper Mulberry” หรือ “ปอสา” ตัวนี้ก็มีคุณสมบัติเป็น Whitening โดยไปยังยั้งการทำงานของ Tyrosinase เช่นกันครับ [Source : http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19046886]
    • นอกจากนี้ก็มีรายงานว่าใบของมันสามารถใช้ในการรักษาโรคผื่นผิวหนังได้ด้วยครับ [Source : http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4201232/]
  4. Butylene Glycol
  5. Water
  6. Dipropylene Glycol
  7. Methyl Trimethicone
  8. Diethoxyethyl Succinate
  9. Alcohol
  10. Glyceryl Polymethacrylate
  11. Niacinamide
    • Vitamin B3 เป็น Whitening เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการรักษาสิว การลดการผลิต Sebum และช่วยให้เซลล์สื่อสารกันได้ดีมากขึ้น
  12. Acetyl Glucosamine
    • เป็นคู่หูของ Vitamin B3 ครับ มีงานวิจัยว่า Vitamin B3 4% + Acetyl Glucosamine 2% สามารถลด จุดด่างดำบนใบหน้า (Facial Spot) และ Hyperpigment ได้อย่างมีนัยสำคัญ (เป็นการทดสอบในหญิงอายุ 40-60ปี ระยะเวลาการทดสอบ 10 สัปดาห์)
  13. Polymethylsilsesquioxane
    • Silicone
  14. Hydrolyzed Ginseng Saponins (Hydrolyzed White Ginseng Saponins)
    • the-Health-Benefits-of-Ginseng-Tea

      Credit : thealthbenefitsof.com

    • สารสกัดจากโสม อ่านเจอมาว่ามีคุณสมบัติในการสมานแผลครับ ลองกดเข้าไปดูใน Link จะเห็นรูปที่มีการเทียบแผลที่ได้รับ Saponin และไม่ได้รับ โดยแผลที่ได้รับ Saponin ปากแผลจะสมานกันได้ไวกว่ามากผลเห็นได้ชัดเจนภายใน 7 วัน [Source : http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23717081]
  15. Oldenlandia Diffusa Extract
    • DSC06180 (08).JPG

      Credit : natureloveyou.sg

    • หญ้าลิ้นงูดอกขาว หรือ จวงจิเช้าเจีย ตัวนี้เจอข้อมูลใน Pubmed ครับเค้าก็บอกนะว่ามันเป็นสมุนไพรของจีน โดยการศึกษาตัวนี้เค้าไปมองในเรื่องของความสามารถในการต้านมะเร็ง (Anticancer) ซึ่งมันก็สามารถทำได้ครับ [Source : http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15273074]
    • นอกจานี้เจ้าสมุนไพรชนิดนี้ก็ยังมีสารประกอบที่ชื่อ quercetin ซึ่งมันก็ทำหน้าที่เป็นตัวขัดขวาง α-MSH จึงถือเป็น Whitening ด้วยครับ
  16. Panax Ginseng Root Extract
    • Ginsenosides หรือ Ginseng saponins คือสารประกอบหลักๆที่อยู่ในโสมนะครับ โดยสารนี้มีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ทั้งนี้โสมแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีส่วนประกอบของ Ginseniside ที่แตกต่างกันออกไป โดยจากข้อมูลที่เปิดเจอมาก็จะบอกว่าโสมของเกาหลีนั้นจะมีคุณภาพที่ดีกว่าจากญี่ปุ่นครับ [Source : http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=8229&gid=3]
  17. Paeonia Albiflora Root Extracts
    • chi-Shao--466x350.jpg

      Credit : oil.plumdragonherbs.com

    • รากโบตั๋นจีน มีคุณสมบัติเป็น Whitening โดยการช่วยบรรเทาอาการPaeonia Albiflora Root [Source : http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26826350]
  18. Nelumbo Nucifera Seed Extract
    • 1307465340795.jpg

      Credit : 21food.com

    • สารสกัดจากเมล็ดดอกบัวมีคุณสมบัติในการเพิ่มความสามารถในการป้องกัน UVB ช่วยให้ผิวรักษาความชุ่มชื้นได้ดีขึ้น และช่วยยับยั้ง Protine Oxidation ที่เป็นสาเหตุทำให้สีผิวดูเหลืองขึ้น [Source : http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4596341/]
  19. Polygonatum Officinale Rhizome/Root Extract
    • iStock_solomonseal-root.jpg

      Credit : anniesremedy.com

    • หาชื่อภาษาไทยไม่ได้เจอแต่ใน wiki เค้าเรียกอีกชื่อว่า angular Solomon’s seal หรือ scented Solomon’s seal นะครับ (นอกจากนี้เจอในเวบสมุนไพรจีนเหมือนเค้าจะเรียกเจ้าตัวนี้ว่า “เง็กเต็ก” ล่ะ อันนี้ไม่ confirm นะครับ)
    • ข้อมูลใน Pubmed เจอแต่เรื่องอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวกับการเอามาทา แต่ไปเจอข้อมูลในเวบอื่นๆ เค้าบอกว่ามันช่วยในเรื่องของการสมานแผล รวมถึงการลด Age Spot ด้วย [Source : http://www.herbalextractsplus.com/solomons-seal.html]
  20. Lilium Tigrinum Flower/Leaf/Stem Extract
    • 57197.jpg

      Credit : gardenia.net

    • ตัวนี้คือ Tiger Lily (ชื่อเดียวกับลูกสาวหัวหน้าเผ่าในเรื่อง Peter Pan เลยวู้ย) ที่เรียกแบบนี้เพราะว่าสีของดอกลิลลี่นี้เป็นสีส้มและมีจุดดำๆ อยู่นะครับ เหมือนลายของเสือ ตัวนี้หาข้อมูลใน Pubmed ไม่ค่อยเจออะไรเท่าไหร่นะ แต่เท่าที่หาได้เค้าบอกว่ามันมีสรพพคุณเป็นยาอยู่ช่วยเรื่องแก้ไออะไรต่างๆ [Source : http://health.in4mnation.com/tiger-lily-benefits-lilium-lancifolium-uses/]
    • ดอกลิลลี่สีขาวจะใช้ชื่อ Lilium lancifolium ส่วนสีเหลืองจะชื่อ Lilium columbianum ครับ (นอกเรื่องทำไม?)
    • ไปเจอข้อมูลในหนังสือว่ามันใช้กันในญี่ปุ่นและจีนครับ ส่วนใหญ่เอามาช่วยในเรื่องของอาการคลื่นไส้อาเจียนของหญิงตั้งครรภ์ ช่วยลดอาการเจ็บปวด [A Modern Herbal]
    • ก็ยังหาสรรพคุณในการทาไม่เจออยู่ดี ใครเจอมาบอกทีนะครับ
  21. Rehmannia Glutinosa Root Extract
    • NEW-Superfine-Wild-Rehmannia-glutinosa-Root-Select-Best-Traditional-Chinese-Medical-Material-Herb-Tea-500g-Free.jpg

      Credit : aliexpress.com

    • รากตี้หวง (地黃 dì huáng) เจ้าตัวนี้ใช้กันในตำรับยาแผนโบราณของจีน มีการทดสอบทั้ง In Vitro และ In Vivo (ทั้งกับคนและในหลอดทดลอง) พบว่ามันมีความสามารถในการเข้าไปยับยั้งสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้บางชนิดได้ [Source : http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9730258]
    • นอกจากนี้เจ้าสารสกัดตัวนี้ยังมี Stacgyose ที่เป็นสาร Active ช่วยในเรื่องของการแบ่งตัวเซลล์ (Fibroblast-proliferating) ได้อีกด้วย ซึ่งแปลว่ามันจะช่วยให้แผลของเราหายได้ไวขึ้นนะครับ ใครที่ยังไม่เข้าใจ Process ของการสมานแผลเข้าไปอ่านได้ที่นี้ครับ LINK [Source : http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3942900/]
  22. Honey
  23. Glycyrrhiza Glabra (Licorice) Root Extract
    • Licorice-Root-for-Yeast-Infections.jpg

      Credit : candidahub.com

    • รากชะเอมเทศยุโรป ซึ่งตัวนี้จะไม่มีสาร quercetin ที่เป็น Whitening นะครับ [Source : http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0308814611018206]
    • แต่มีงานวิจัยว่ามันเป็น Antioxidant ที่ทรงพลังครับ ซึ่งก็จะเป็นคุณสมบัติของ Anti Aging ไป [Source : http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19384750]
  24. Ginkgo Biloba Leaf Extract
    • 732640854_501.jpg

      Credit : alibaba.com

    • สารสกัดจากใบแปะก๊วยจะมีสาร Biflavone ซึ่งมีความสามารถในเรื่องของการลดอาการไขข้อ นอกจากนี้ก็ยังช่วยลดอาการระคายเคืองของผิวหนังได้อีกด้วย [Source : http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11988854]
  25. Scutellaria Baicalensis Root Extract
    • diyu_web.jpg

      Credit : bonatics-tcm.com

    • 201511189593155.jpg

      ดอกของมันครับสวยดี Credit : world2source.com

    • สารสกัดจากรากหมวกไบคาล ช่วยในเรื่องการต้านการระคายเคือง [Source :http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25046235]
  26. Glycerin
    • ให้ความชุ่มชื้นเป็น Humectant
  27. Limnanthes Alba (Meadowfoam) Seed Oil
    • meadowfoam2

      Credit : natutallycurly.com

    • เจ้าตัวนี้ดีครับมี Fatty Acid ที่มีประโยชน์ต่อผิวมากมาย เสริม Skin Barrier แอบบอกว่ามันผสมอยู่ใน Sulwhasoo Time Treasure ด้วยล่ะ
  28. 1,2-Hexanediol
  29. Hydrogenated Lecithin
  30. Methoxy Peg-114/Polyepsilon Caprolactone
  31. Propanediol
  32. Peg-60 Hydrogenated Castor Oil
  33. Stearyl Behenate
  34. Caprylic/Capric Triglyceride
  35. Behenyl Alcohol
  36. Potassium Acrylates/C10-30 Alkyl Acrylate Crosspolymer
  37. Polysorbate 20
  38. Polyglyceryl-10 Pentastearate
  39. Cetearyl Alcohol
  40. Ethylhexylglycerin
  41. Polyglyceryl-3 Methylglucose Distearate
  42. Sodium Stearoyl Lactylate
  43. Cetearyl Glucoside
  44. Glyceryl Caprylate
  45. Caprylyl Glycol
  46. Disodium Edta
  47. Phenoxyethanol
  48. Fragrance

Ingredients : Glycyrrhiza Uralensis (Licorice) Root Extract, Ophiopogon Japonicus Root Extract, Broussonetia Kazinoki Root Extract, Butylene Glycol, Water, Dipropylene Glycol, Methyl Trimethicone, Diethoxyethyl Succinate, Alcohol, Glyceryl Polymethacrylate, Niacinamide, Acetyl Glucosamine, Polymethylsilsesquioxane, Hydrolyzed Ginseng Saponins (Hydrolyzed White Ginseng Saponins), Oldenlandia Diffusa Extract, Panax Ginseng Root Extract, Paeonia Albiflora Root Extract, Nelumbo Nucifera Seed Extract, Polygonatum Officinale Rhizome/Root Extract, Lilium Tigrinum Flower/Leaf/Stem Extract, Rehmannia Glutinosa Root Extract, Honey, Glycyrrhiza Glabra (Licorice) Root Extract, Ginkgo Biloba Leaf Extract, Scutellaria Baicalensis Root Extract, Glycerin, Limnanthes Alba (Meadowfoam) Seed Oil, 1,2-Hexanediol, Hydrogenated Lecithin, Methoxy Peg-114/Polyepsilon Caprolactone, Propanediol, Peg-60 Hydrogenated Castor Oil, Stearyl Behenate, Caprylic/Capric Triglyceride, Behenyl Alcohol, Potassium Acrylates/C10-30 Alkyl Acrylate Crosspolymer, Polysorbate 20, Polyglyceryl-10 Pentastearate, Cetearyl Alcohol, Ethylhexylglycerin, Polyglyceryl-3 Methylglucose Distearate, Sodium Stearoyl Lactylate, Cetearyl Glucoside, Glyceryl Caprylate, Caprylyl Glycol, Disodium Edta, Phenoxyethanol, Fragrance

1 Comment

  1. Pingback: LIVELYMOO FAVORITE 2016!!! | livelymoo

Comments are closed.